สุกรที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
สายพันธุ์สุกร
ในปัจจุบันสายพันธุ์สุกรที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในประเทศไทยมีอยู่หลายสายพันธุ์แต่สายพันธุ์ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ ของต่างประเทศที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว เนื่องจากสุกรพันธุ์พื้นเมืองนั้น โตช้า ใช้เวลาเลี้ยงนาน คุณภาพเนื้อไม่ดี ให้ลูกต่อครอกน้อย และไม่ตรงกับความต้องการของตลาดสุกรสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในประเทศไทย มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น
สุกรพันธุ์ลาร์จไวท์
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2482 มีสีขาว หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่ โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว คุณภาพซากดี พันธุ์ลาร์จไวท์ เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
สุกรพันธุ์แลนด์เรซ มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค นำเข้ามาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2506 มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว มีซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่) หน้ายาว โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว มีข้อเสียคือ อ่อนแอ มักจะมีปัญหาเรื่องขาอ่อน ขาไม่ค่อยแข็งแรง แก้ไขโดยต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีคุณภาพดี พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธุ์
สุกรพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม เป็นสุกรที่ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว ลูกสุกรหลังจากอายุ 2 เดือนไปแล้ว เจริญเติบโตเร็ว มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูก ผสมที่สวยงาม แผ่นหลังกว้าง เจริญเติบโตเร็ว
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา มีสีแดง หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัวหนา หลังโค้ง โตเต็มที่ 200-
สุกรพันธุ์เพียเทรียน
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงสูงมาก มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจ ช็อคตายง่าย และโตช้า ปัจจุบันนิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุน
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม มีสีดำขาวเหลือง ลายสลับ เป็นสุกรที่มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด โตเต็มที่ 150-
สุกรลูกผสมที่เหมาะสมในการใช้เลี้ยงสุกรขุน
การเลี้ยงสุกรพันธุ์แท้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น จึงนิยมนำพันธุ์แท้มาผสมข้ามพันธุ์ เพื่อทำให้ลูกที่เกิดขึ้น มีลักษณะของเฮตเตอร์โรซีส (Heterosis) หรือ ไฮบริดวิกเกอร์ (Hybrid Vigor) หรือเรียกว่า พลังอัดแจ กล่าวคือตัวลูกที่เกิดจากพ่อแม่ต่างพันธุ์กัน นำมาผสมพันธุ์จะให้ผลผลิต เช่น การเจริญเติบโต ความแข็งแรง ดีกว่าค่าเฉลี่ยของการให้ผลผลิต จากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ให้กำเนิด สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์ สามสายพันธุ์ หรือ สี่สายพันธุ์ สามารถนำมาใช้เป็นสุกรขุนได้เช่นกัน
แต่สากลนิยมทั่วไป มักใช้สุกรลูกผสมสามสายพันธุ์เป็นสุกรขุน คือ ดูร็อคเจอร์ซี่ x แลนด์เรซ – ลาร์จไวท์ โดยใช้แม่สองสายพันธุ์ คือ แลนด์เรซ x ลาร์จไวท์ หรือ ลาร์จไวท์ x แลนด์เรซ ซึ่งถือว่าเป็นสายแม่พันธุ์ ที่มีคุณสมบัติการผลิตลูกดีที่สุด ส่วนพ่อสุดท้ายจะใช้พ่อพันธุ์แท้ ที่เป็นพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ หรืออีกทางให้เลือก คือ ใช้พ่อพันธุ์แท้ เช่น ดูร็อคเจอร์ซี่, ลาร์จไวท์, แลนด์เรซ ผสมกับแม่พันธุ์แท้ เช่น พันธุ์แลนด์เรซ, ลาร์จไวท์, ดูร็อคเจอร์ซี่ จะได้ลูกผสมสองสายพันธุ์ ใช้เป็นสุกรขุนได้ตามแผนผังด้านล่าง
การใช้สุกรขุนสองสายพันธุ์ ใช้ในกรณีที่เรามีแม่พันธุ์แท้อยู่แล้ว สุกรสองสายพันธุ์สามารถใช้เป็น สุกรขุนได้เป็นอย่างดี จะขึ้นอยู่พ่อสุดท้าย ถ้าเป็นพ่อพันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่ มักจะให้ลูกสองสายพันธุ์ที่แข็งแรงกว่า อย่างไรก็ตาม การผลิตสุกรขุนสองสายพันธุ์ จะทำให้ต้นทุนการผลิต สูงกว่าสุกรลูกผสมสามสายพันธุ์ เนื่องจากแม่สุกรพันธุ์แท้ จัดหาซื้อมาในราคาที่แพง และมักจะอ่อนแอกว่าแม่สุกรลูกผสมสองสายพันธุ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น