อยากรู้เรื่องสัตว์ คลิกเลยยย!!

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นคนสบายๆ,เข้ากับคนได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงไก่เนื้อ !__!

@_@! การเลี้ยงไก่เนื้อ


 การเลี้ยงไก่เนื้อ   เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก

          เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย  มีราคาถูก  นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป  นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง  ในการเลี้ยงไก่เนื้อ  ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร  ขนาดของฟาร์มเท่าใด  วางแผนในเรื่องของโรงเรือน  เครื่องมืออุปกรณ์  ค่าแรงงาน  ค่าน้ำ และค่าไฟ



          สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ  บริการอาหาร  การให้วัคซีน  การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู  จนสามารถจำหน่ายได้  พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน










การเลี้ยงไก่เนื้อ
          สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้
          ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
          นำไก่เนื้อเกรด  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น
          เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์
          เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้



การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง 

เคล็ดลับ
          การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้

.^. การเลี้ยงไก่ไข่ ^.^

** การเลี้ยงไก่ไข่ **


อาชีพเลี้ยงไก่ไข   เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม  เพราะนอกจากจะได้ไข่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว  ยัง สามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร  อีกทั้งการลงทุนก็ไม่มาก  เลี้ยงง่าย  ใช้เนื้อที่น้อยบริษัทหรือฟาร์มเอกชนจำนวนมาก  ผลิตไข่ไก่พันธุ์ลูกผสมเพื่อจำหน่ายแก่ผู้เลี้ยง  ไก่พันธุ์ที่คัดเลือกเป็นไก่พันธุ์ไข่ดก  ไข่ฟองโต  ไข่ทน  และไข่นาน  มีผลผลิตไข่อยู่ในเกณฑ์สูงสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่อายุเริ่มได้  วัน  หรือจะเลี้ยงไก่รุ่น  เดือนก็ได้  เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเลี้ยงเป็นครั้งแรก

การเลี้ยงไก่ไข่สามารถทำการเลี้ยงได้  2 วิธี
        การเลี้ยงแบบกรงตับ  เป็นกรงใส่ไก่ไข่ที่มีทั้งแบบชั้นเดียว  และหลายชั้นซ้อนกันเป็นที่นิยมมาก ชั้นเดียว  2  ด้าน  ด้านละ  6  ช่อง  ชุดหนึ่งเลี้ยงได้  12  ตัว  ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหารแบบกะทัดรัด
        การเลี้ยงแบบขังรวม เป็นการเลี้ยงไก่แบบเลี้ยงรวมกันในโรงเรือนขนาดใหญ่  และรองพื้นด้วยวัสดุรองพื้น วิธีนี้เป็นที่สนใจจากผู้เลี้ยงในปัจจุบันอย่างมาก
        โรงเรือน และอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่  ต้องแข็งแรง  กันแดด  กันฝน  กันลมได้  และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

การดูแลรักษาไก่ไข่
       กกลูกไก่ด้วยหลอดไฟฟ้า  40-60  แรงเทียน  โดยติดหลอดไฟไว้ใต้ฝาชี
       การให้อาหารสำเร็จรูปควรมีโปรตีนตามอายุไก่ไข่
       ลูกไก่และไก่เล็ก  อายุ 0-8 สัปดาห์ อาหารควรมีโปรตีน 12-18 %
       ไก่รุ่นและไก่สาว  อายุ  8 สัปดาห์   อาหารควรมีโปรตีน 17-18 %
       ไก่ไข่อายุตั้งแต่เริ่มไข่เป็นต้นไป     อาหารควรมีโปรตีน 15-16 %
       การทำวัคซีนให้กับไก่ไข่  ควรให้วัคซีนซีมาเร็กซ์เพื่อป้องกันโรคมะเร็งในไก่นิวคาสเซิ่น  หลอดลมอักเสบ  ฝีดาษ  อหิวาต์  กล่องเสียงอักเสบ  และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการ  เกษตรอำเภอ

การจัดจำหน่าย
          ติดต่อพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไข่ไก่จากฟาร์ม  เพื่อนำไปส่งขายต่ออีกทอดหนึ่ง  และต้องคัดเลือกขนาดของไข่ไก่ก่อนทุกครั้ง  เพราะราคาจะแตกต่างกันตามขนาดของไข่

เคล็ดลับ
          การเลี้ยงไก่ไข่ให้มีคุณภาพ  ต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี  ดูแลความสะอาดของโรงเรือน  อุปกรณ์ให้น้ำ  และอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่ ไก่อาจตกใจไม่ออกไข่หรืออาจตายได้

---โรคที่เกิดในกวาง---

โรคที่สำคัญของกวาง
      
 โรคกวางที่สำคัญที่มีผลเสียต่อทางเศรษฐกิจจากที่เคยบันทึกในประเทศที่เลี้ยงกวางเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มี 2 โรคได้แก่

1. วัณโรคปอด โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อถึงคนได้ แพร่ระบาดไปถึงกวางตัวอื่น ๆ ได้ง่ายก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในนิวซีแลนด์ มาตรการควบคุม ก็คือ ทดสอบตรวจโรคกวางในฝูงเป็นประจำโดยทางรัฐจะสำรวจกำหนดเขตฟาร์มต่าง ๆ ในประเทศว่าเป็นเขตปลอดวัณโรคหรือไม่ หรือเขตที่มีวัณโรคในอัตราส่วนที่ต่ำ โดยรัฐออกใบรับรองแต่ละฟาร์ม โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีการระบาดบ่อยมากในฟาร์มเลี้ยงกวาง

2. โรคแท้งติดต่อ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรงถึงขั้นตาย แต่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ โรคนี้จะแพร่เชื้อเร็วมาก ฟาร์มกวางที่ได้มาตรฐาน จะมีการกำหนดโปรแกมการป้องกันรักษาโรคไว้ ซึ่งลักษณะการทำโปรแกรมขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มแต่ละฟาร์ม ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงกวางในลักษณะปล่อยเลี้ยงในทุ่งกว้างก็จะมีการต้อนเข้าคอกกักเพื่อนำมาตรวจสอบ ตรวจโรคเพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงที

สำหรับในประเทศไทยนั้นเท่าที่ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงกันมายังไม่มีรายงานเรื่องโรค แต่ก็ไม่อาจจะชะล่าใจได้ควรทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กวางปลอดจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกวางทุกตัวไม่ต้องทำวัคซีน

พอเข้าฤดูฝนก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรยบริเวณคอกและไม่ควรให้คนภายนอกเข้าไปในคอกเป็นอันขาด ที่สำคัญจะไม่ให้กวางเข้าไปใกล้แพะแกะหรือวัวเป็นอันขาดเพราะสัตว์พวกนี้คือพาหะนำโรค

ขอยกตัวอย่างกรณีฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่ติดแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วมขังในฟาร์มแล้วเกิดพยาธิในเลือดชนิด TRYPANOSOMIA ซึ่งปกติจะเป็นในวัวแต่ติดต่อมาถึงกวางได้เพราะมีแมลงชนิดหนึ่งไปดูดเลือดวัวและมาดูดเลือดกวางต่อจึงนำเชื้อมาสู่กวางด้วย ทำให้กวางติดพยาธิและตายไป เมื่อผ่าศพดูจึงพบว่าเป็นพยาธิ ในเหตุการณ์ตอนนั้นมีการตายไป 2 ตัว

@@ สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ @@

ลักษณะทั่วไปของกวาง

กวาง เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะของการระวังภัยสูงมากจึงมีอาการตื่นตัวและระมัดระวังภัยจนเป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลา มีการหากินโดยอาจจะเป็นพวกที่ชอบหากินและอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวบ้างเป็นบางครั้งก็มี ขนาดตัวของกวางจะมีตั้งแต่ตัวเล็กเท่า ๆ กับลูกแกะไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าม้า สามารถอยู่ได้ในภูมิอากาศเขตหนาว หรือเขตอากาศอบอุ่น ไปจนถึงเขตร้องชื้น
ทั้งนี้โดยแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามภูมิอากาศที่อยู่อาศัยเช่น กวางแดง กวางวาปิติ และกวางดาว อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น กวางเรนเดียร์ กวางมูซ อยู่ในเขตภูมิอากาศเขตหนาว และกวางม้า กวางรูซ่า เนื้อทราย อยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นต้น


ลักษณะพิเศษของกวาง  เนื่องจากกวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้เป็นสัตว์ที่สามารถผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปี กล่าวคือเมื่อใกล้ถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ซึ่งก็คือโครงสร้างของมวลคล้ายกระดูกอ่อนที่ยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาได้ และนำเอาแร่ธาตุ ฮอร์โมน วิตามิน และโภชนะต่าง ๆ ขึ้นไปสู่เขาอ่อนนี้อยู่เรื่อย ๆ โดยมีหนังเต็มไปด้วยขนสั้นละเอียดและหนาแน่นมองดูคล้ายผ้ากำมะหยี่ห่อหุ้มอยู่โดยตลอดเต็มตา
ดังนั้นชาวตะวันตกจึงเรียกเขาอ่อนชนิดนี้ว่า VELVET ANTLER หรือ VELVET คำเดียวซึ่งก็แปลว่าเขากำมะหยี่หรือเขาอ่อนนั่นเอง เขาอ่อนนี้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งประมาณ 2 - 4 เดือนก็จะแปรสภาพไปเป็นเขาแข็งที่แท้จริงโดยมีขนาดกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมากน้อยตามอายุของกวางและภายในเขามีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาวแข็งมากและคล้ายกระดูก
ชาวตะวันตกจึงเรียกเขาชนิดนี้ว่า แอนท์เลอร์ (ANTLER) ซึ่งน่าจะแปลว่าเขาผลัดได้ซึ่งแตกต่างไปจากคำว่า HORN อันหมายถึงเขาที่มีลักษณะเป็นกระดูก ดังนั้นในทางวิทยาศาสตร์จึงได้จัดให้กวางเป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเซอรวิเดอี (CERVIDAE) ซึ่งก็หมายถึงสัตว์ที่ผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปีในเพศผู้นั่นเอง


การผสมพันธุ์ ในช่วงต้นของฤดูผสมพันธุ์ซึ่งส่วนมากจะอยู่กลางฤดูฝนคือประมาณเดือนกรกฏาคมเป็นต้นไปนั้น กวางที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะเริ่มงอกเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ออกมาจากปุ่มส่วนหน้าสุดของกระโหลกศรีษะ (frontal bone procees) ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์ (Burrs) โดยงอกออกมามีรูปร่างเหมือนเขา แต่จะแตกต่างจากเขาก็โดยที่มีหนังหุ้มดังได้อธิบายไว้ข้างต้น ต่อมาเมื่อมันได้สลัดหนังหุ้มกำมะหยี่โดยการถูไถกับต้นไม้จนหนังหุ้มหลุด ออกไปหมดแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชุดเขาผลัดได้ที่แท้จริง (ANTLER) เกิดขึ้น โดยระยะเวลาตั้งแต่แรกงอกมาจนถึงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง 3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุสัตว์
หลังจากนั้นกวางตัวผู้เหล่านี้ก็จะไม่กินอาหารใด ๆ เลย และจะต่อสู้กันเองเพื่อความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว คุมฝูงตัวเมียผสมพันธุ์จนหมดฤดูผสมพันธุ์ไปในประมาณฤดูหนาว และโดยที่ระยะเวลาเป็นสัดของกวางตัวเมียมีเพียง 3 - 4 ชั่วโมงเท่านั้นกวางตัวผู้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนกว่าจะผสมพันธุ์เสร็จจึงค่อยติดตามตัวอื่นในฝูงต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกฎธรรมชาติที่สัตว์ตัวที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นจะสามารถสืบพันธุ์และดำรงสืบสานต่อไปได้
กวางตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน และออกลูก 1 ตัวเป็นส่วนใหญ่ การออกลูก 2 ตัวนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกวางในเมืองร้อน แต่หากเป็นเมืองหนาวแล้ว มีโอกาสได้ลูก 2 ตัวสูงกว่า


เลี้ยงห่าน เลี้ยงห่าน

การเลี้ยงห่าน


         1. เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว เมื่อลูกห่านมีอายุ 10 วันขึ้นไป เปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดประมาณ 80% การตายมักจะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรก อาจจะเนื่องมาจากอ่อนแอหรือถูกแม่ทับ ใช้เวลาเลี้ยงส่งตลาดสั้น อายุประมาณ 15 สัปดาห์ ก็ใช้ฆ่าบริโภคได้          
2. การลงทุนต่ำ เนื่องจากห่านสามารถเจริญเติบโตได้ดีโดยอาศัยหญ้าอย่างเดียว ยกเว้นในช่วงแรกเกิดเท่านั้นที่ต้องการจัดหาอาหารผสมให้ลูกห่านกินด้วย         
 3. เลี้ยงได้ในท้องที่ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นที่ดอน ที่ลุ่ม แม้แต่ในบริเวณบ้านก็ใช้เลี้ยงห่านได้ ขอแต่ให้มีที่กันแดดกันฝนก็เพียงพอแล้ว         
 4. ช่วยทำให้พื้นที่สะอาด ห่านสามารถกินหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี จึงช่วยให้บริเวณที่เลี้ยงสะอาด          
5. มูลห่านสามารถใช้เป็นปุ๋ยสำหรับใส่ต้นไม้และพืชผักได้          
6. ไม่สกปรกและไม่มีกลิ่เหม็น          
7. ช่วยเฝ้าบ้านและป้องกันสัตว์ร้ายในบริเวณบ้าน เช่น แมลงป่อง ตะขาบ และ งู เป็นต้น









คุณค่าทางอาหารของเนื้อห่าน

           เนื้อห่านก็เหมือนกับเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย น้ำ โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุ ไวตามิน และคาร์โบไฮเดรทอีเล็กน้อย ส่วนประกอบเหล่านี้จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับพันธุ์ อายุ และสภาพการเลี้ยงดูเนื้อของห่านเมื่อยังเล็กจะมีน้ำมากและมีไขมันต่ำ แต่ก็ยังมีไขมันมากกว่าเนื้อของไก่ คุณสมบัติที่ดีเด่นของเนื้อสัตว์ปีกอยู่ที่คุณค่าอาหารและร่างการมนุษย์สมารถที่จะย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ เนื้อห่านมีโปรตีนพอ ๆ กับเนื้อไก่ โดยเฉพาะเนื้อห่านที่ไม่ได้ขุนจะมีโปรตีนมากกว่าเนื้อไก่และเนื้อห่านอ่อน เนื้อห่านขุนจะมี ไขมันมากกว่าเนื้อไก่ และให้ปริมาณพลังงานมากกว่าเนื้อไก่


เลี้ยงเป็ดๆ กัน! 2

การเลี้ยงเป็ดเนื้อ

การเลี้ยงเป็ดเนื้อ
         ปัจจุบันการบริโภคเนื้อเป็ดเป็นที่นิยมมากกว่าในอดีต เพราะสมัยก่อนคนไทยเลี้ยงเป็ดไว้เพื่อกินไข่เท่านั้น  เพื่อเป็นการลดรายจ่ายของครอบครัว ส่วนเนื้อเป็ดไม่นิยมนำมารับประทานเพราะมีกลิ่นสาบ  เนื้อน้อย แต่การเลี้ยงเป็ดเนื้อได้มีการพัฒนาโดยใช้เป็ดพันธุ์ปักกิ่งสีขาวมาเลี้ยง จึงเป็นที่นิยมของนักบริโภคทั้งหลาย  เพราะให้เนื้อเยอะ  ไม่เหนียว  และมีรสชาติดี ประกอบอาหารได้หลากหลาย
         เป็ดเนื้อที่คนนิยมเลี้ยง  คือเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง  จะมีลักษณะรูปร่างใหญ่โต  ลำตัวกว้าง และหนา  ขนสีขาวล้วน  ปากสีเหลืองส้ม  แข้งและเท้าสีหมากสุก  ผิวหน้าสีเหลือง  เลี้ยงง่าย ให้ไข่ดีพอใช้  แต่ไม่ฟักไข่  จะมีนิสัยตื่นตกใจง่าย  เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 4 กิโลกรัม



การเลี้ยงลูกเป็ด
          โรงเรือนควรกันแดด  ลม  ฝนได้  ระบายถ่ายเทอากาศได้ดี  รักษาความสะอาดง่าย พื้นควรเป็นทราย หรือซีเมนต์  และควรปูแกลบเป็นวัสดุรองพื้น
          เมื่อลูกเป็ดอายุได้  7  วัน  ทำการฉีดวัคซีน  ลูกเป็ดอายุ  1-3  สัปดาห์ยังต้องให้ความอบอุ่น  ลูกเป็ดจะเกิดอาการตกใจง่าย ดังนั้นจึงต้องเปิดวิทยุทิ้งไว้ให้มีเสียงดังตลอดเวลา  และเพื่อเป็นการคลายเครียด
          อาหารที่ให้เป็นอาหารผสม  และให้กินพวกปลายข้าวผสมกับรำละเอียด ต้มใส่ถาดให้กิน  ส่วนน้ำต้องสะอาดผสมวิตามิน
ในระยะนี้อย่าให้ลูกเป็ดลงเล่นน้ำในบ่อ  แต่ทำภาชนะใส่น้ำ เป็นบ่ออนุบาลให้ลูกเป็ดลงไปเล่น  แต่อย่าให้เล่นนาน  ลูกเป็ดจะหนาวและเป็นปอดบวมได้
          เมื่อเป็ดอายุครบ  2  เดือน  ควรแยกโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ดรุ่น  ทำเพิงมุงหลังคากันแดด กันลมและฝน  ควรเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง  แล้วยกเป็นเนินสูง  อีกด้านหนึ่งควรอยู่ริมน้ำ เพื่อให้เป็ดลงเล่นน้ำได้
          การให้อาหาร  ควรทำเป็นอ่างขนาดใหญ่  ให้เป็ดกินได้สะดวกและให้วันละ 2-3 ครั้ง  โดยใช้ปลายข้าว  รำหยาบ  รำละเอียด ผสมคลุกเคล้าแล้วให้น้ำคลุกอาหารให้เปียก  หรือจะให้ผักตกชวาเป็ดกินเป็นอาหารเสริมก็ได้
          เป็ดตัวเมียสามารถออกไข่ได้  แต่ไม่มากนัก  ส่วนมากไข่จากเป็ดเนื้อจะเก็บไว้เพื่อนำไปฟักเป็นลูกเป็ด


การจัดจำหน่าย  :  เป็ดจะโตเต็มที่และจับขายได้เมื่ออายุได้  4-5  เดือน  โดยจะจับขายเป็นตัวๆ  ชั่งน้ำหนัก  ขายให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อ  ราคาของเป็ดเนื้อขึ้นอยู่ที่น้ำหนักและความนิยมของตลาดในแต่ละปี
          ขนเป็ดยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมผลิตลูกขนไก่  หรือใช้ทำฟูกที่นอนได้ด้วย  เป็นอาชีพที่ให้ผลตอบแทนสูง  เหมาะกับการประกอบอาชีพ  เพื่อหารายได้ให้ครอบครัวเป็นอย่างดี

เคล็ดลับ  :  เอาใจใส่อย่าให้เป็ดมีอาการเครียด  โดยให้ลงเล่นน้ำ  โรงเรือนต้องโปร่งสบาย  ให้อาหารตลอดเวลา
       

เลี้ยงเป็ดๆ กัน!

การเลี้ยงเป็ดไข่ ^^*


การเลี้ยงเป็ดไข่
          “ไข่เป็ด  เป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง และนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี แต่ในปัจจุบันไข่เป็ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค  เพราะเป็ดไข่เลี้ยงค่อนข้างยาก หากเป็ดเกิดอาการตกใจหรือดูแลไม่ดีพอก็จะไม่ยอมไข่  การเลี้ยงเป็ดไข่นิยมเลี้ยงเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง เพราะเลี้ยงง่ายกว่า ทนทาน ให้ไข่ดกประมาณ  260  ฟองต่อปี  และให้เนื้อดี
          ลักษณะของเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ผสมกับเป็ดพื้นเมือง  จะมีขนสีน้ำตาล  ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า  ปากดำค่อนข้างไปในทางเขียว จงอยปากต่ำ  ตาสีน้ำตาลเข้ม  ตัวเมียตัวโตเต็มที่หนักประมาณ  2-5  กิโลกรัม  จะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ  4  เดือนครึ่ง


 การเลี้ยงเป็ดไข่
          เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ทำความสะอาดโรงเรือน  ปรับพื้นคอก โรยปูนขาวและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทิ้งเอาไว้ประมาณ  7  วัน  ควรเป็นโรงเรือนที่กันลมและกันฝน อากาศถ่ายเทได้ดี  พื้นเป็นดินแข็งปนทราย ต้องแห้งอยู่เสมอ
          โรงเรือนต้องแบ่งเป็น  2  ส่วน  คือ  เป็นลานกว้าง  มีหลังคา  กันแดด  กันลม  กันฝน ให้เป็ดวิ่งออกกำลังกายได้  จัดที่ให้อาหารและน้ำ
          อีกส่วนควรอยู่ริมน้ำ  มีตาข่ายล้อมรอบกั้นเป็นเขต  เพื่อให้เป็ดได้ว่ายน้ำ  ออกกำลังกาย
          การให้อาหาร  คือ  หัวอาหารผสมกับปลายข้าวและรำข้าว  คลุกเคล้าโดยเครื่องผสมอาหาร ให้อาหารวันละ  3  ครั้ง  เช้า  กลางวัน  เย็น
          ถ้าเป็ดได้รับการเลี้ยงดูอย่างสมบูรณ์  จะเริ่มออกไข่เมื่ออายุประมาณ  5  เดือน เป็ดจะออกไข่ตอนเช้ามืด  ตามแอ่ง  มุมต่าง ๆ  ของคอก  
           วิธีการเก็บไข่  คือ ใช้มือเก็บไข่โดยหนีบไข่ไว้ข้างละ  3  ฟอง  จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น  ควรเก็บใส่กระป๋องครั้งละมาก ๆ แล้วนำไปคัดขนาด  แยกไข่กินกับไข่เพาะเชื้อออกจากกัน
การจัดจำหน่าย
          ไข่เป็ดที่คัดขนาดแล้ว  จะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ  เพื่อนำไปส่งอีกทอดหนึ่ง  การเลี้ยงเป็ดไข่  จะเก็บไข่ขายได้ในระยะเวลายาว  ขายได้กำไรดี เพราะเป็ดสามารถไข่ได้นานถึง  ปี หลังจากที่เป็ดหมดระยะไข่แล้ว  ยังสามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ เพื่อประกอบอาหารได้อีกด้วย
เคล็ดลับ
          เป็ดไข่ที่ไม่ไข่ สามารถขายเป็นเป็ดเนื้อ  มูลเป็ดทำเป็นปุ๋ย ในบ่อน้ำใช้เลี้ยงเป็ดยังสามารถเลี้ยงปลาได้  โดยไม่ต้องเปลืองค่าอาหารเป็นการเพิ่มรายได้ทางอ้อม


/// ประวัติไก่ชน นเรศวร ///

" ไก่ชนนเรศวร "
                    เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารของไทย ดังจะเห็นได้จาก หนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบ โชประการ ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
วันหนึ่ง ได้มีการตีไก่ขึ้น ระหว่างสมเด็จพระนเรศวร ฯ  กับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)  ไก่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ตีชนะมังชัยสิงห์  มังชัยสิงห์จึงขัดเคือง ตรัสประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า ไก่เชลยตัวนี้ เก่งจริงหนอ
ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาตอบโต้ไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวร ฯ  ไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้
นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวร ฯ  เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชน ต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน

             การตีไก่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในไทย  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทร์ เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัย ทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ ครั้งเสด็จไปประทับที่พม่าก็ทรงนำไก่ชนไปด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจาก บ้านกร่าง
บ้านกร่าง  อำเภอเมืองพิษณุโลก  แดนไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ มีการเลี้ยงไก่มาก เมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ ก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนชนไก่ประจำหมู่บ้าน ไก่บ้านกร่าง เป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว  เป็นไก่ชนที่มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จนได้รับสมญานามว่า เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง
ตามตำราได้กล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่มีสกุล มีประวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือรูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดง แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว และได้มีผู้รู้ บรรยายลักษณะพิเศษไว้ว่า
หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า หน้านกยูง  
ทางภาคใต้ ได้บรรยายลักษณะของไก่เหลืองหางขาวชั้นเยี่ยม ไว้ว่า
อกชัน                                 หวั้นชิด
หงอนบิด              ปากร่อง
พัดเจ็ด                   ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง      ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม
                การค้นหาไก่เหลืองหางขาว ให้มีลักษณะครบทุกอย่าง และมีลักษณะพิเศษอีกนั้น คงจะมีเพียงตัวเดียว คือ ไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันการผสมพันธุ์ไก่ชนได้แพร่หลาย และกระจายไปทั่วประเทศ เพราะมีการผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ และข้ามสี จนมีไก่ชนหลากสีขึ้น สุดแท้แต่ไก่ตัวไหนจะเก่ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดประกวดขึ้น
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยได้จัดให้มีการประกวดครั้งแรกขึ้น เมื่อ 29 กรกฏาคม พ.ศ. 2533 และต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นในทั่วทุกอำเภอ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่เป็นสมบัติคู่ชาติไทยต่อไป

 


    

จะเลี้ยงไก่ชนต้องสังเกตอะไรบ้าง?

วิธีดูลักษณะไก่ชน.....

 

        ตามปกติลักษณะ และบุคลิกเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ ไก่ชนตัวใดมีบุคลิกลักษณะดี ไก่ตัวนั้นก็มักจะเก่งเป็นส่วนมาก การดูบุคลิกลักษณะไก่ชนที่เก่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง
1.       ใบหน้าเล็ก คางรัด
2.       หงอน (หงอนบางกลางหงอนสูง) (หงอนหิน)
3.       ปากเป็นร่องน้ำสองข้างลึก (ปากสีเดียวกับขา)
4.       นัยตาดำเล็ก ตาขาวมีสีขาว (ตาปลาหมอตาย) (หรือตาสีเดียวกับสร้อยคอ)
5.       สีของขน
6.       สร้อยคอต้องยาวติดต่อสร้อยกลางหลัง
7.       ปากใหญ่ยาว
8.       คอใหญ่และกระดูกปล้องคอถี่ ๆ
9.       หางยาวแข็ง
10.   กระดูกหน้าอกใหญ่ ยาว
11.   แข้งเล็ก แห้ง ร่องเกล็ดแข้งลึก และกลม เกล็ดแข้งใส เหมือนเล็บมือ
12.   นิ้วเล็กยาว เล็บยาว
13.   เม็ดข้าวสารนูนเวลาใช้มือลูบจะคายมือ
14.   โคนหางใหญ่
15.   อุ้งเท้าบาง แคร่หลังใหญ่
16.   เส้นขาใหญ่

การดูเกล็ดแข้ง











         การดูเกล็ดแข้งก็เหมือนการดูลายมือคน เกล็ดแข้งตามตัวอย่างนี้ มิใช่ว่าไก่ที่มีแข้งแบบนี้แล้วจะไม่แพ้ใคร ลักษณะของการแพ้นั้นมีอยู่หลายวิธี คือ
1.       ไก่ไม่สมบูรณ์หมายถึง เจ็บป่วยโดยที่เราไม่รู้ เรานำไปชนก็มักจะแพ้
2.       เปรียบเสียเปรียบคู่ต่อสู้ คือเล็กกว่าบ้าง ต่ำกว่าบ้างเป็นเหตุทำให้แพ้ได้
3.       ผิดเชิง ไก่บางตัวชอบตีไก่ตั้ง เวลาชนไปเจอไก่ลงตีไม่ได้ก็แพ้ได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นการดูเกล็ดแข้งจึงจำเป็นที่เราจะต้องรู้ไว้บ้าง แข้งตามตัวอย่างนี้เป็นส่วน ประกอบเวลาท่านจะไปหาไก่ถ้ามีเกล็ดแบบนี้แล้ว ท่านทดลองปล้ำดูพอใจแล้วค่อยเอา ถ้าไก่สมบูรณ์ ชนไม่เสียเปรียบ รับรองว่าชนะมากกว่าแพ้ แต่ว่ารู้สึกว่าจะหายากสักหน่อย