อยากรู้เรื่องสัตว์ คลิกเลยยย!!

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นคนสบายๆ,เข้ากับคนได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงไก่เนื้อ !__!

@_@! การเลี้ยงไก่เนื้อ


 การเลี้ยงไก่เนื้อ   เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก

          เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย  มีราคาถูก  นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป  นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง  ในการเลี้ยงไก่เนื้อ  ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร  ขนาดของฟาร์มเท่าใด  วางแผนในเรื่องของโรงเรือน  เครื่องมืออุปกรณ์  ค่าแรงงาน  ค่าน้ำ และค่าไฟ



          สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ  บริการอาหาร  การให้วัคซีน  การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู  จนสามารถจำหน่ายได้  พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน










การเลี้ยงไก่เนื้อ
          สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้
          ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
          นำไก่เนื้อเกรด  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น
          เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์
          เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้



การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง 

เคล็ดลับ
          การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้

.^. การเลี้ยงไก่ไข่ ^.^

** การเลี้ยงไก่ไข่ **


อาชีพเลี้ยงไก่ไข   เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม  เพราะนอกจากจะได้ไข่ไว้บริโภคภายในครัวเรือนแล้ว  ยัง สามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร  อีกทั้งการลงทุนก็ไม่มาก  เลี้ยงง่าย  ใช้เนื้อที่น้อยบริษัทหรือฟาร์มเอกชนจำนวนมาก  ผลิตไข่ไก่พันธุ์ลูกผสมเพื่อจำหน่ายแก่ผู้เลี้ยง  ไก่พันธุ์ที่คัดเลือกเป็นไก่พันธุ์ไข่ดก  ไข่ฟองโต  ไข่ทน  และไข่นาน  มีผลผลิตไข่อยู่ในเกณฑ์สูงสามารถเลี้ยงได้ตั้งแต่อายุเริ่มได้  วัน  หรือจะเลี้ยงไก่รุ่น  เดือนก็ได้  เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเลี้ยงเป็นครั้งแรก

การเลี้ยงไก่ไข่สามารถทำการเลี้ยงได้  2 วิธี
        การเลี้ยงแบบกรงตับ  เป็นกรงใส่ไก่ไข่ที่มีทั้งแบบชั้นเดียว  และหลายชั้นซ้อนกันเป็นที่นิยมมาก ชั้นเดียว  2  ด้าน  ด้านละ  6  ช่อง  ชุดหนึ่งเลี้ยงได้  12  ตัว  ติดตั้งอุปกรณ์ให้น้ำให้อาหารแบบกะทัดรัด
        การเลี้ยงแบบขังรวม เป็นการเลี้ยงไก่แบบเลี้ยงรวมกันในโรงเรือนขนาดใหญ่  และรองพื้นด้วยวัสดุรองพื้น วิธีนี้เป็นที่สนใจจากผู้เลี้ยงในปัจจุบันอย่างมาก
        โรงเรือน และอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่  ต้องแข็งแรง  กันแดด  กันฝน  กันลมได้  และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

การดูแลรักษาไก่ไข่
       กกลูกไก่ด้วยหลอดไฟฟ้า  40-60  แรงเทียน  โดยติดหลอดไฟไว้ใต้ฝาชี
       การให้อาหารสำเร็จรูปควรมีโปรตีนตามอายุไก่ไข่
       ลูกไก่และไก่เล็ก  อายุ 0-8 สัปดาห์ อาหารควรมีโปรตีน 12-18 %
       ไก่รุ่นและไก่สาว  อายุ  8 สัปดาห์   อาหารควรมีโปรตีน 17-18 %
       ไก่ไข่อายุตั้งแต่เริ่มไข่เป็นต้นไป     อาหารควรมีโปรตีน 15-16 %
       การทำวัคซีนให้กับไก่ไข่  ควรให้วัคซีนซีมาเร็กซ์เพื่อป้องกันโรคมะเร็งในไก่นิวคาสเซิ่น  หลอดลมอักเสบ  ฝีดาษ  อหิวาต์  กล่องเสียงอักเสบ  และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานราชการ  เกษตรอำเภอ

การจัดจำหน่าย
          ติดต่อพ่อค้าคนกลางมารับซื้อไข่ไก่จากฟาร์ม  เพื่อนำไปส่งขายต่ออีกทอดหนึ่ง  และต้องคัดเลือกขนาดของไข่ไก่ก่อนทุกครั้ง  เพราะราคาจะแตกต่างกันตามขนาดของไข่

เคล็ดลับ
          การเลี้ยงไก่ไข่ให้มีคุณภาพ  ต้องมีการสุขาภิบาลที่ดี  ดูแลความสะอาดของโรงเรือน  อุปกรณ์ให้น้ำ  และอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่ ไก่อาจตกใจไม่ออกไข่หรืออาจตายได้

---โรคที่เกิดในกวาง---

โรคที่สำคัญของกวาง
      
 โรคกวางที่สำคัญที่มีผลเสียต่อทางเศรษฐกิจจากที่เคยบันทึกในประเทศที่เลี้ยงกวางเป็นฟาร์มขนาดใหญ่มี 2 โรคได้แก่

1. วัณโรคปอด โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อถึงคนได้ แพร่ระบาดไปถึงกวางตัวอื่น ๆ ได้ง่ายก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากในนิวซีแลนด์ มาตรการควบคุม ก็คือ ทดสอบตรวจโรคกวางในฝูงเป็นประจำโดยทางรัฐจะสำรวจกำหนดเขตฟาร์มต่าง ๆ ในประเทศว่าเป็นเขตปลอดวัณโรคหรือไม่ หรือเขตที่มีวัณโรคในอัตราส่วนที่ต่ำ โดยรัฐออกใบรับรองแต่ละฟาร์ม โรคนี้ถือเป็นโรคที่มีการระบาดบ่อยมากในฟาร์มเลี้ยงกวาง

2. โรคแท้งติดต่อ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรงถึงขั้นตาย แต่ก่อให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจ โรคนี้จะแพร่เชื้อเร็วมาก ฟาร์มกวางที่ได้มาตรฐาน จะมีการกำหนดโปรแกมการป้องกันรักษาโรคไว้ ซึ่งลักษณะการทำโปรแกรมขึ้นอยู่กับเจ้าของฟาร์มแต่ละฟาร์ม ถึงแม้ว่าจะเลี้ยงกวางในลักษณะปล่อยเลี้ยงในทุ่งกว้างก็จะมีการต้อนเข้าคอกกักเพื่อนำมาตรวจสอบ ตรวจโรคเพื่อที่จะรักษาได้ทันท่วงที

สำหรับในประเทศไทยนั้นเท่าที่ตั้งแต่เริ่มเลี้ยงกันมายังไม่มีรายงานเรื่องโรค แต่ก็ไม่อาจจะชะล่าใจได้ควรทำความสะอาดคอกอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กวางปลอดจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกวางทุกตัวไม่ต้องทำวัคซีน

พอเข้าฤดูฝนก็ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อโรยบริเวณคอกและไม่ควรให้คนภายนอกเข้าไปในคอกเป็นอันขาด ที่สำคัญจะไม่ให้กวางเข้าไปใกล้แพะแกะหรือวัวเป็นอันขาดเพราะสัตว์พวกนี้คือพาหะนำโรค

ขอยกตัวอย่างกรณีฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่ติดแม่น้ำ ทำให้น้ำท่วมขังในฟาร์มแล้วเกิดพยาธิในเลือดชนิด TRYPANOSOMIA ซึ่งปกติจะเป็นในวัวแต่ติดต่อมาถึงกวางได้เพราะมีแมลงชนิดหนึ่งไปดูดเลือดวัวและมาดูดเลือดกวางต่อจึงนำเชื้อมาสู่กวางด้วย ทำให้กวางติดพยาธิและตายไป เมื่อผ่าศพดูจึงพบว่าเป็นพยาธิ ในเหตุการณ์ตอนนั้นมีการตายไป 2 ตัว

@@ สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ @@

ลักษณะทั่วไปของกวาง

กวาง เป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง มีลักษณะของการระวังภัยสูงมากจึงมีอาการตื่นตัวและระมัดระวังภัยจนเป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลา มีการหากินโดยอาจจะเป็นพวกที่ชอบหากินและอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่เป็นกลุ่มเป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวบ้างเป็นบางครั้งก็มี ขนาดตัวของกวางจะมีตั้งแต่ตัวเล็กเท่า ๆ กับลูกแกะไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าม้า สามารถอยู่ได้ในภูมิอากาศเขตหนาว หรือเขตอากาศอบอุ่น ไปจนถึงเขตร้องชื้น
ทั้งนี้โดยแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามภูมิอากาศที่อยู่อาศัยเช่น กวางแดง กวางวาปิติ และกวางดาว อยู่ในเขตภูมิอากาศอบอุ่น กวางเรนเดียร์ กวางมูซ อยู่ในเขตภูมิอากาศเขตหนาว และกวางม้า กวางรูซ่า เนื้อทราย อยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นต้น


ลักษณะพิเศษของกวาง  เนื่องจากกวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้เป็นสัตว์ที่สามารถผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปี กล่าวคือเมื่อใกล้ถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีการสร้างเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ซึ่งก็คือโครงสร้างของมวลคล้ายกระดูกอ่อนที่ยังมีเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาได้ และนำเอาแร่ธาตุ ฮอร์โมน วิตามิน และโภชนะต่าง ๆ ขึ้นไปสู่เขาอ่อนนี้อยู่เรื่อย ๆ โดยมีหนังเต็มไปด้วยขนสั้นละเอียดและหนาแน่นมองดูคล้ายผ้ากำมะหยี่ห่อหุ้มอยู่โดยตลอดเต็มตา
ดังนั้นชาวตะวันตกจึงเรียกเขาอ่อนชนิดนี้ว่า VELVET ANTLER หรือ VELVET คำเดียวซึ่งก็แปลว่าเขากำมะหยี่หรือเขาอ่อนนั่นเอง เขาอ่อนนี้เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งประมาณ 2 - 4 เดือนก็จะแปรสภาพไปเป็นเขาแข็งที่แท้จริงโดยมีขนาดกิ่งก้านสาขาใหญ่โตมากน้อยตามอายุของกวางและภายในเขามีลักษณะคล้ายหินปูนสีขาวแข็งมากและคล้ายกระดูก
ชาวตะวันตกจึงเรียกเขาชนิดนี้ว่า แอนท์เลอร์ (ANTLER) ซึ่งน่าจะแปลว่าเขาผลัดได้ซึ่งแตกต่างไปจากคำว่า HORN อันหมายถึงเขาที่มีลักษณะเป็นกระดูก ดังนั้นในทางวิทยาศาสตร์จึงได้จัดให้กวางเป็นสัตว์อยู่ในตระกูลเซอรวิเดอี (CERVIDAE) ซึ่งก็หมายถึงสัตว์ที่ผลัดเปลี่ยนเขาได้ทุกปีในเพศผู้นั่นเอง


การผสมพันธุ์ ในช่วงต้นของฤดูผสมพันธุ์ซึ่งส่วนมากจะอยู่กลางฤดูฝนคือประมาณเดือนกรกฏาคมเป็นต้นไปนั้น กวางที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะเริ่มงอกเขาอ่อน (VELVET ANTLER) ออกมาจากปุ่มส่วนหน้าสุดของกระโหลกศรีษะ (frontal bone procees) ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์ (Burrs) โดยงอกออกมามีรูปร่างเหมือนเขา แต่จะแตกต่างจากเขาก็โดยที่มีหนังหุ้มดังได้อธิบายไว้ข้างต้น ต่อมาเมื่อมันได้สลัดหนังหุ้มกำมะหยี่โดยการถูไถกับต้นไม้จนหนังหุ้มหลุด ออกไปหมดแล้ว ก็จะถือว่าเป็นชุดเขาผลัดได้ที่แท้จริง (ANTLER) เกิดขึ้น โดยระยะเวลาตั้งแต่แรกงอกมาจนถึงเวลานี้จะอยู่ระหว่าง 3 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับอายุสัตว์
หลังจากนั้นกวางตัวผู้เหล่านี้ก็จะไม่กินอาหารใด ๆ เลย และจะต่อสู้กันเองเพื่อความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว คุมฝูงตัวเมียผสมพันธุ์จนหมดฤดูผสมพันธุ์ไปในประมาณฤดูหนาว และโดยที่ระยะเวลาเป็นสัดของกวางตัวเมียมีเพียง 3 - 4 ชั่วโมงเท่านั้นกวางตัวผู้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดตลอดเวลาจนกว่าจะผสมพันธุ์เสร็จจึงค่อยติดตามตัวอื่นในฝูงต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นกฎธรรมชาติที่สัตว์ตัวที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นจะสามารถสืบพันธุ์และดำรงสืบสานต่อไปได้
กวางตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 8 เดือน และออกลูก 1 ตัวเป็นส่วนใหญ่ การออกลูก 2 ตัวนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกวางในเมืองร้อน แต่หากเป็นเมืองหนาวแล้ว มีโอกาสได้ลูก 2 ตัวสูงกว่า